วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558


Unit 12 - What They Said
             Reported Speech

การนำคำพูดของคนอื่น ๆ ไปบอกเล่าใครฟังมีวิธีพูดได้ 2 วิธีคือ

1. ยกคำพูดเดิมไปบอกทั้งหมด (Direct Speech)
    Nicole says, "I am going to the movie."
      Judy says to me,  "get out"

2. ดัดแปลงคำพูดเดิมเป็นคำพูดของผู้เล่าเอง (Indirect Speech)
     Nicole says that she is going to the movies.
     Judy tells me to get out. 




Unit 11 - If It Hadn't Happened
Should Have + Past Participle


เวลาที่เราทำอะไรผิดพลาดไปแล้ว เรารู้สึกเสียใจ รู้สึกว่าไม่น่าที่จะทำอย่างนั้น หรือรู้สึกว่าน่าจะทำอย่างอื่นแทน ถ้าเป็นในสถานการณ์แบบนี้ ในภาษาอังกฤษเราสามารถใช้โครงสร้างประโยค should have เพื่อที่จะแสดงความรู้สึกนี้ออกมาได้ .... อ่านเพิ่มเติม



Unit 10 - I Wonder What Happened

Past Perfect Tense
รูปแบบของ Past Perfect Tense :  Subject + had + Verb3

หลักการใช้ Past Perfect Tense
ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง2เหตุการณ์ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงก่อนหน้าอีกเหตุการณ์ โดย
            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนจะใช้Past Perfect Tense
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลังจะใช้Past Simple Tense

We had gone out before he came.
(เราออกไปข้างนอกกันแล้วก่อนที่เขาจะมา)



Unit 9 - Complaints, Complaints
Causative form

ในภาษาอังกฤษจะมีประโยคแบบพิเศษอยู่แบบหนึ่ง ซึ่งประธานของประโยคไม่ได้เป็นคนทำการกระทำนั้นด้วยตัวเอง แต่ให้บุคคลอื่นทำการกระทำต่างๆ ให้ตัวเอง เช่น หากเราจะไปตัดผม (โดยให้ช่างตัดผมตัดให้) เราจะไม่สามารถพูดว่า I will cut my hair. ได้ เพราะคนฟังจะเข้าใจผิดว่าเราจะทำการตัดผมของเราด้วยตัวเราเอง ... อ่านเพิ่มเติม



Unit 8 - Wishful Thinking
      Conditional sentences 


Conditional sentences หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause คือ ประโยคเงื่อนไข ประกอบด้วยอนุประโยค (ประโยคย่อย) สองประโยค ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สังเกตว่า อนุประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้ แล้วแต่การเน้นและความหมาย .... อ่านเพิ่มเติม



Unit 7 - You've Got Mail!
        Preposition + Gerund 
           

          Gerunds เป็นกริยารูปหนึ่งที่ลงท้ายด้วย ing และทำหน้าที่เป็นคำนาม ฉะนั้น ตำแหน่งของคำกริยาประเภทนี้ในประโยคคือ ประธาน (subject) กรรมตรง (direct object) ประธานเสริม (subject complement) และกรรมของบุพบท (object of preposition) ... อ่านเพิ่มเติม



Unit 6 - Take My Advice
            Modal Auxiliaries

             modals หรือ modal auxiliaries คือกลมกริยาช่วยที่ใช้บอกกริยาแท้ของประโยค โดยที่กริยาแท้จะเป็นกริยาช่อง1
 รูปธรรมดา             รูปปฏิเสธ                รูปย่อปฏิเสธ
                            can                        cannot                             can' t
     could                     could not                         couldn' t
                            may                       may not                           mayn' t


            ... อ่านเพิ่มเติม



Unit 5 - Did You Hurt Yourself?
      Reflexive Pronoun
                Reflexive pronouns หมายถึง สรรพนามที่สะท้อนกลับไปยังคำนามหรือสรรพนามที่ทำหน้าที่ประธานในประโยค ข้อสังเกตของสรรพนามประเภทนี้คือลงท้ายด้วย -self ถ้าเป็นเอกพจน์ หรือ -selves ถ้าเป็นพหูพจน์ ได้แก่

เอกพจน์                                 พหูพจน์
myself (ตัวฉันเอง)                              ourselves (ตัวพวกเราเอง)
yourself (ตัวคุณเอง)                           yourselves (ตัวพวกคุณเอง)
himself (ตัวเขาเอง)                            themselves (ตัวพวกเขาเอง)
herself (ตัวเธอเอง)        
itself (ตัวมันเอง)


            .... อ่านเพิ่มเติม


Unit4 : The Art of Advertising
            The Passive

ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่าประธานแสดงกริยาอะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย .... อ่านเพิ่มเติม

Unit3 : What will be, will be.
    Future with Will or Be Going To

                การใช้ will/ be going to
1. will และ be going to เป็นโครงสร้างที่ใช้แสดงอนาคตกาล
2. โครงสร้าง be going to ใช้ในความหมายของความตั้งใจจะกระทำจริงๆ ในอนาคต  มากกว่าโครงสร้าง will

3. โครงสร้าง  will/ be going to ต้องตามด้วยกริยาแท้ที่ไม่กระจายเสมอ  ... อ่านเพิ่มเติม


Unit2: Careers
    Present Perfect Progressive vs Present Perfect Simple

Present Perfect Simple
โครงสร้างประโยค :  S + has/have + V3

วิธีใช้ Present Perfect Simple Tense
1. เพื่อแสดงถึงการกระทำที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตและยังคงดำเนินต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในขณะที่กำลังพูดถึงอยู่โดยปกติ มักมีคำว่า For (แสดงช่วงความยาวของเวลา)และ Since (แสดงช่วงจุดใดจุดหนึ่งของเวลา) ประกอบอยู่ในประโยคด้วย
             ตัวอย่าง : My father has been ill for more than two weeks. (คุณพ่อของฉันป่วยมาเป็นเวลามากกว่า 2 อาทิตย์แล้ว... อ่านเพิ่มเติม

Unit1: Big Changes
Present Simple Tense

โครงสร้าง : Subject + Verb 1 (s )  ( ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ( s ) )
เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ หลังคำกริยาจะต้องเติม s )

ตัวอย่าง : 1.I go to school by car. (ฉันไปโรงเรียนโดยรถยนต์)
    2. He walks to school. ( เขาเดินไปโรงเรียน ) .... อ่านเพิ่มเติม






Phrasal verbs หรือ two-word verbs
     คือ การใช้คำกริยาที่ปกติแล้วมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ส่วนประกอบ เมื่อ verb+ preposition or particle มารวมกันเป็น Phrasal verbs แล้ว อาจจะทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่มีเค้าความหมายของคำกริยาเดิมเลย นิยมใช้กันมากในภาษาอังกฤษ



หลักสำคัญในการใช้ Phrasal Verbs หรือ Two-Word Verbs
1.เมื่อไม่มี direct object ต้องวาง adverb ไว้ติดกับ verb เช่น
   - please come in.
   - Don't give up, whatever happens.

2. เมื่อมี object pronoun เช่น him, her, it, them, me, us, เป็น direct object ต้องวาง object เหล่านี้ไว้หน้า adverb เช่น
   - I can't make it out. (right)
   - I can't make out it.(wrong)

3. เมื่อมี noun เช่น book , pen , houses , etc.เป็น direct object จะวาง noun ไว้หน้าหรือหลัง adverb ก็ได้  (verb +adverb +noun) หรือ (verb +noun +adverb)
เช่น Turn on the light.  หรือ  Turn the light on.

4. ตามข้อ 3 ถ้า object เป็นคำยาว เช่นมี object clause ขยายต้องวางobject ไว้หลัง adverb เช่น
   - He gave away every book that he possesed. (right)
   - He gave every book that he possesed away. (wrong)

5. ในประโยคอุทาน (exclamatory Sentences)ให้วาง adverb ไว้หน้าประโยคยืดหลักดังนี้
   5.1 ถ้าประธานเป็น noun เอากริยาตามมาได้เลย เช่น
      -Off went john! = John went off.
   5.2 ถ้าประธานเป็น pronoun ใหัใช้แต่ adverb ไม่ต้องใช้ verb เช่น
      -Away they went ! = They went away.




ประเภทของ Phrasal verbs
1. Inseparable Verbs with no objects  คือ phrasal verb ที่ต้องติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ ไม่ต้องมีกรรม เช่น
   set off ออกเดินทาง         Speed up เร่งความเร็ว
   Wake up ตื่นนอน            Stand up ยืนขึ้น
   Come in เข้ามาถึง           Get on ขึ้น (รถ) / เข้ากันได้
   Carry on ทำต่อไป           Find out เรียนรู้
   Grow up เติบโต             Turn up ปรากฏตัว

2. Inseparable Verbs with objects คือ phrasal verb ที่ต้องอยู่ติดกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่ต้องมีกรรม เช่น
   Look after เลี้ยงดู                              Look into สอบถาม ตรวจสอบ
   Run into ชน                                     Come across พบโดยบังเอิญ
   Take after เหมือนถอดแบบ                  Deal with ติดต่อ เกี่ยวข้อง
   Go off ออกไป จากไป หยุดทำงาน         Cope with จัดการ

3. Separable verbs คือ ที่แยกจากกันได้ มักจะต้องการกรรม
   Turn on เปิด(ไฟ)           Turn off ปิด (ไฟ)
   Turn down หรี่ (เสียง)     Swith off ปิด
   Look up มองหา             Take off ถอด ออกดินทาง

4. Three-Word Phrasal Verbs  คือ phrasal verb ที่ไม่มีกรรมและบางครั้งมีการใช้บุพบทมากกว่า 1 ตัว เช่น
   Get on with ทำต่อไป ไม่หยุด                Cut down on ลดปริมาณลง
   Look out for เตรียมพร้อม                      Catch up with ตามทัน
   Run out of หมด                                  Get down to เอาจริงเอาจัง
   Stand up for ปกป้อง เดือดร้อนแทน         Look down to ดูถูก
   Look up to ยอมรับนับถือ                        Put up with อดทน
   Look out on มองออกไป